วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556

เอกชนชง 5 มาตรการเสนอแบงค์ชาติ-คลัง ช่วยผู้ประกอบการถูกกระทบบาทแข็ง

           นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการและรักษาการประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (...) เปิดเผยว่า ในวันนี้ (24 เมษายน 2556) จะเสนอมาตรการช่วยเหลือผู้ส่งออกและเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่าต่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

  ทั้งนี้ตามที่เงินบาทมีการแข็งค่าอย่างผิดปกติในช่วงนี้เห็นได้จากที่เงินบาทเปรียบเทียบกับเดือนมกราคมกับกลางเดือนเมษายน เห็นได้จากอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยอ้างอิง ณ วันที่ 22 เมษายน 2556 แข็งค่าไปถึง 28.660 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แต่อัตราแลกเปลี่ยนในการรับซื้อตั๋วเงินจากผู้ส่งออกอยู่ที่ 28.39 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยน ณ สิ้นปี 2555 (30.61 บาทต่อ USD) เงินบาทแข็งค่าไปถึงร้อยละ 6.37 ในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทไทยแข็งค่ากว่าภูมิภาค เช่น เงินริงกิตของประเทศมาเลเซีย อ่อนค่าร้อยละ 0.17 เงินหยวนของจีน อ่อนค่าร้อยละ 0.06 และเงินรูเปียห์ของอินโดนีเซีย อ่อนค่าร้อยละ 0.08 โดยพบว่าที่ผ่านมามีเงินทุนไหลเข้า (Capital Inflow) มาทำกำไรในประเทศไทยจำนวนมาก โดยช่วงก่อนสงกรานต์ ทั้ง ธปท. กระทรวงการคลัง รถไฟฟ้า BTS มีการออกพันธบัตรรวมกันมากกว่า 240,000 ล้านบาท กอปรกับช่วงหลังสงกรานต์เพียง 2 วัน มีเงินเข้ามาถึง 20,000 ล้านบาทเศษ รวมทั้งมีเงินไหลเข้าจากนักลงทุนญี่ปุ่น ซึ่งต้องการหาแหล่งปลอดภัยในการลงทุน นำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศที่ปลอดภัย โดยเฉพาะในตลาดพันธบัตรของไทย ทั้งนี้ แนวโน้มว่าการที่เงินเยนมีการอ่อนค่าในช่วง 3 เดือน ไปถึงร้อยละ 11.51 จะทำให้มีเงินไหลเข้ามาในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง (เฉพาะในช่วงนี้ เงินเยนแข็งค่าถึงร้อยละ 20) ซึ่งจะทำให้โอกาสที่เงินบาทจะแข็งค่าหลุดระดับไปที่ 28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ คงจะเห็นได้ในไม่ช้า

           สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ติดตามเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง และได้มีการจัดเสวนาร่วมกับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะในกลุ่ม SMEs รวมถึงผู้ประกอบการด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปพบว่าได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยมีปัจจัย เช่น

(1) ผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบที่ใช้ส่วนใหญ่หรือทั้งหมดใช้ของผลิตภายในประเทศ (High Local Content)
(2) กลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้เป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่เทคโนโลยีสูง เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ทำให้ขาดอำนาจต่อรองในการปรับราคา
(3) การทำ Forward อัตราแลกเปลี่ยน มีข้อจำกัด ในส่วนที่เกี่ยวกับวงเงิน
(4) ผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่ใช้แรงงานเข้มข้นได้รับผลกระทบจากต้นทุนค่าจ้างที่สูงขึ้น ส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 10-15
(5) ผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นเอาท์ซอร์ส หรือ OEM ยังถูกกดราคาและต่อรองราคาให้ต่ำ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น